เงื่อนไขสัญญาเช่าและสัญญาขายโดยทั่วไปสำหรับที่ดินเพื่อการประกอบอุตสาหกรรมและหน่วยอุตสาหกรรม
1. ข้อปฏิบัติสำหรับการทำสัญญาเช่า
เงื่อนไขสัญญาเช่า
สัญญาเช่าโดยปกติแล้วจะมีอายุ 3 ปี โดยสัญญาเช่าใดๆ ที่มีอายุเกินกว่า 3 ปี จำเป็นต้องจดทะเบียนไว้กับกรมที่ดิน โดยจะคิดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเป็นมูลค่า 1% ของราคาที่จ่ายจริงตามสัญญาเช่าซึ่งต้องทำการจ่ายเมื่อมีการจดทะเบียนสัญญา โดยผู้เช่าจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้
สัญญาเช่า
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะถูกร่างขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามสัญญาเช่าจะต้องถูกจดทะเบียนไว้ที่กรมที่ดิน จึงต้องมีการแปลสัญญาเช่าเป็นภาษาไทยเพื่อใช้ในการจดทะเบียนด้วย
ค่าเช่า
ค่าเช่าสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมคำนวณในหน่วยบาทไทย โดยคิดอัตราตามพื้นที่ในหน่วยตารางเมตรต่อเดือน ตามปกติแล้วค่าเช่าจะถูกจ่ายล่วงหน้าเป็นเวลาหนึ่งเดือน หลักปฏิบัติทั่วไปคือทีการจ่ายค่ามัดล่วงหน้าเป็นจำนวน 3 เดือนและจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าอีก 1 เดือนก่อนการเซ็นสัญญาเช่า
โดยทั่วไปแล้วค่าเช่าจะไม่รวมในค่าธรรมเนียมการจัดการ ภาษีต่างๆ เอกสารสัญญาเช่า และข้อตกลงการให้บริการ
เงินมัดจำ
เงินมัดจำมูลค่าเท่ากับค่าเช่าจำนวน 3 เดือน อ้างอิงจากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าจะถูกจ่ายในวันเซ็นสัญญาเช่า
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะแตกต่างออกไปตามแต่ผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะเป็นผู้กำหนด แต่มักจะประกอบไปด้วยค่าธรรมเนียมการจัดการนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรม
หากอาคารตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมหรือสวนอุตสาหกรรมจะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมการจัดการแก่ผู้จัดการนิคมเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาถนนและสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ประกันภัยทรัพย์สิน
เป็นสิ่งที่ต่อรองได้แต่ส่วนมากผู้เช่าจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้
ค่าซ่อมบำรุง
ผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับค่าใช้จ่ายรายวัน
ภาษีโรงเรือน
เป็นภาษีอาคารส่วนท้องถิ่นและมีมูลค่า 12.5% ของค่าเช่า
2. ข้อปฏิบัติสำหรับการขาย
ผู้ขายส่วนมากนิยมที่จะขายที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม โกดังสินค้าหรือโรงงานในรูปแบบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
การขายจะถูกคำนวณในรูปเงินบาทไทย
ข้อปฎิบัติทัวไปคือการแบ่งการชำระเงินออกเป็น 3 งวด ดังนี้
10% ณ วันที่ทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) หรือแบบเสนอราคา (Offer Letter) โดยถือว่าบริษัทได้รับอนุญาตจาก กนอ. และ/หรือการรับรองจาก BOI ในการซื้อที่ดิน ในกรณีที่บริษัทไม่ได้รับอนุญาต ให้ทำการคืนเงินมัดจำแก่ผู้เสนอซื้อ
20% ณ วันที่เซ็นสัญญาและ
จำนวนเงินที่เหลือ ณ วันโอนสิทธิ์
- อสังหาริมทรัพย์ที่มีบริษัทเป็นเจ้าของจำเป็นต้องชำระภาษี 3 ประเภทคือค่าธรรมเนียมการโอน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเจ้าของโดยบุคคลธรรมดา จำเป็นต้องชำระภาษี 3 ประเภทคือค่าธรรมเนียมการโอน
ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออากรแสตมป์ และ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
ผู้ขายส่วนมากมักเป็นผู้รับผิดชอบภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในขณะที่ค่าธรรมเนียมการโอนจะแบ่งกันรับผิดชอบระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (สามารถต่อรองได้)